การ์ตูนในวัยเด็กที่หลายๆ คนต่างหลงรัก และดูกันผ่านตากันตั้งแต่เด็ก อย่าง “Winnie The Pooh” การผจญภัยของ คริสโตเฟอร์ โรบิน และเหล่าผองเพื่อน ที่หลายคนชอบคงหนีไม่พ้นน้องหมีพูห์ หมีสีเหลืองสุดซุกซน ที่ชอบการกินน้ำผึ้งเป็นชีวิตจิตใจ ในป่าหนึ่งร้อยเอเคอร์ ด้วยการ์ตูนที่มีแง่คิด น่ารักสดใส และคำคมให้กำลังใจต่างๆ มากมาย ทำให้เราหลายคนอาจมองข้ามบางเรื่องของตัวการ์ตูนไป
แท้จริงแล้ว “สถาบันสุขภาพแห่งชาติ”ของสหรัฐอเมริกา ได้วิจัยมาแล้วชี้ชัดว่า ตัวการ์ตูนเรื่อง Winnie The Pooh แต่ละตัวนั้น มีความผิดปกติทางจิต และเป็นตัวแทนของปัญหาทางจิตที่แตกต่างกันออกไป แต่หากเพื่อนๆ คนไหนเป็นแฟนการ์ตูนเรื่องนี้ก็อย่าเศร้าใจไปหละ เพราะเป็นเพียงผลวิจัยของนิสัยของตัวการ์ตูนแต่ละตัว ที่ไม่แปลกที่จะมีข้อเสียไปบ้าง ไม่ทำให้เจ้าการ์ตูนในเรื่องน่ารักน้อยลงได้เลย แถมคำคมให้กำลังใจต่างๆ ในเรื่องนั้นก็ยังคงซาบซึ้งกินใจผู้อ่านถึงทุกวันนี้ นอกจากเหนือจากนั้นยังทำให้เราสามารถเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับ ความผิดปกติทางจิต ได้เข้าใจง่ายขึ้นอีกด้วย
แล้วตัวการ์ตูนแต่ละตัวจะเป็นตัวแทนของโรคอะไรบ้าง เดียวเราดูกันเลย
พิกเล็ต : โรควิตกกังวล และความพึงพอใจในตนเองต่ำ
หากใครเป็นแฟนเรื่องนี้จะทราบเลยว่าเจ้าพิกเล็ตน้อยน่ารักนี้ จะมีความขี้กลัว และขี้กังวลไปอย่างมาก กังวลไปถึงสิ่งต่างๆ รอบตัวเสมอ รวมถึงยังขาดความเชื่อมั่น ศรัทธาในตนเอง จิตตกได้ง่าย และยังกลัวการเข้าสังคมเป็นที่สุด ทำให้ไม่พ้นโรคนี้แน่นอน “โรควิตกกังวล และความพึงพอใจในตนเองต่ำ”
ทิกเกอร์ : โรคสมาธิสั้น (ADHD) และขาดการควบคุมความต้องการของตนเอง
เจ้าเสือสุดร่าเริงอย่าง ทิกเกอร์ ก็หนีไม่พ้นอาการทางจิต อย่างโรคสมาธิสั้น ที่เขามักทำอะไรโดยไม่คิดและไม่ค่อยเรียนรู้ในเรื่องที่เคยทำผิดพลาด แล้วยังหยุดนิ่งไม่ค่อยได้ และที่สำคัญอาการอารมณ์เสียง่ายและยากที่จะสงบนิ่งลง อาการร่าเริงเกินเหตุเมื่อมีความสุข ล้วนเป็นอาการของ โรคสมาธิสั้น (ADHD) และขาดการควบคุมความต้องการของตนเอง
แรบบิท : โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)
แน่นอนว่าเขามักจะทำอะไรซ้ำๆ ซ้ำไปซ้ำมา เพื่อเช็คความถูกต้อง นับจำนวนสิ่งของซ้ำไปซ้ำมา เพราะเขานั้นกลัวความผิดพลาด จู้จี้จอมวางแผน และที่สำคัญเมื่อมีใครทำอะไรออกนอกลู่นอกทางนั้นเขาจะหัวเสียเป็นอย่างมาก และนี้คือสัญลักษณ์ของ โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)
รู : โรคออทิสติก (ASD)
แม้ความน่ารักของรูจะทำให้เรามองผ่านจุดที่ว่าเขาเป็นโรค แต่แท้จริงแล้วรูเป็นโรคออทิสติก (ASD) เลยหละ รูมักจะต้องอยู่แต่ในกระเป๋าหน้าท้องของแม่ตลอดเวลา และเมื่อเขาหายตัวไปนั้น สุดท้ายก็จะพบว่ารูจะอยู่ในที่ที่อันตรายเสมอ แต่ตัวเขาไม่รู้เลย เลยทำให้แม่ของรูนั้นต้องคอยเตือนให้รูห้ามออกไปจากกระเป๋าหน้าท้องเสมอ และรูก็มักจะอยู่เงียบๆ ในประเป๋านั้น และนี้ล้วนเป็นอาการของ โรคออทิสติก (ASD)
แคงก้า : โรควิตกกังวล (Anxiety)
แคงก้ามักเป็นห่วงรูลูกของเธอแบบสุดๆ และกลัวที่จะเกิดอันตรายกับรูเสมอ เลยทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับผ่องเพื่อน และเธอยังเกิดอาการกลัวเป็นอย่างมาก เมื่อต้องออกไปทำกิจกรรมต่างๆ กับเพื่อน
อียอร์ : โรคซึมเศร้าเรื้อรัง
ลาน้อยแสนเศร้า ที่หากหลายคนนึกถึง อียอร์ ก็จะนึกถึงภาพที่เขานั้งเศร้าเสมอ แน่นอนเลยว่าเขาคือตัวแทนของ โรคซึมเศร้านี้เอง เขามักมีอาการซึมและเชื่องช้ากว่าปกติมาก และในการ์ตุนเขามักจะมองเห็นเรื่องร้ายๆ ที่จะเกิดขึ้นก่อนคนอื่นเสมอ เขามักคิดเสมอว่าจะมีเรื่องร้ายตามมา หลังความสุขของเพื่อนๆ และนี้คืออาการของโรคซึมเศร้าเรื้อรัง
อาวล์ : โรคการอ่านเขียนบกพร่อง (Dyslexia)
แม้ในการ์ตูนเขาจะดูฉลาดที่สุด แต่แท้จริงแล้ว เขามักจะอ่านเขียนสะกดอะไรพลาดอยู่เสมอ และนี้คืออาการของโรคการอ่านเขียนบกพร่อง (Dyslexia) แต่อาวล์กลับมีความฉลาด สุขุม และรักการเรียนรู้ ไม่ยากที่เขาจะเป็นอัจฉริยะได้ เพราะอัจฉริยะบนโลกจริงเราที่เป็นโรคนี้ก็มี เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
หมีพูห์ : โรคกินไม่หยุด (Binge-Eating Disorder)
มาถึงตัวละครในดวงใจหลายๆ คนอย่าง หมีพูห์ ที่เขาอยากจะกินน้ำผึ้งตลอดเวลานั้น เดาไม่ยากเลยว่าเขาเป็นโรค โรคกินไม่หยุด (Binge-Eating Disorder) หากว่าเข้ายังอยากอาหารอยู่นั้น ก็ไม่สามารถทำให้เขาพึงพอใจได้ และยังนำไปสู่อาการสูญเสียความภูมิใจแห่งตนอีกด้วย เพราะเขามักจะเป็นห่วงในเรื่องน้ำหนักของตัวเอง แต่เขาก็ยังคงสะสมน้ำผึ้งไม่หยุด แล้วยังมี โรคสมาธิสั้น (ADHD) อีกด้วย อะโห! เจ้าหมีน้อยเป็นโรคเยอะเหมือนกัน เพราะเขานั้นไม่สามารถมีสมาธิได้เมื่อเขาหิว จดจ่อกับอะไรไม่ได้นาน เขาก็หิวใหม่อีกแล้ว!
คริสโตเฟอร์ โรบิน : โรคจิตเภท (Schizophrenia)
อาการหนักที่สุดในเรื่องนี้ คงหนีไม่พ้นตัวเอกของเรื่องอย่างเด็กชายธรรมดา คริสโตเฟอร์ โรบิน แต่ที่ไม่ธรรมดานั้นคือ เพื่อนๆ ของเขาไม่ได้มีอยู่จริง ทำให้เด็กน้อยป่วยเป็นโรค โรคจิตเภท (Schizophrenia) ที่ทำให้เขามีเพื่อนในจิตนาการ และไม่สามารถแยกได้ระหว่างโลกของจินตนาการและโรคของความเป็นจริง และแยกเสียงภาพที่เกิดจากภาพหลอนไม่ได้
หลายๆ คนที่ได้อ่านเรื่องนี้ คงมีคำถามเกิดขึ้นในใจแล้วว่า นี้มันเกิดอะไรขึ้นกับฝันวัยเด็ก!?! แฟนการ์ตูนเรื่องนี้ก็อย่าเศร้าใจไปหละ เพราะเป็นเพียงผลวิจัยของนิสัยของตัวการ์ตูนแต่ละตัว ที่ไม่แปลกที่จะมีข้อเสียไปบ้าง ไม่ทำให้เจ้าการ์ตูนในเรื่องน่ารักน้อยลงได้เลย แถมคำคมให้กำลังใจต่างๆ ในเรื่องนั้นก็ยังคงซาบซึ้งกินใจผู้อ่านถึงทุกวันนี้ นอกจากเหนือจากนั้นยังทำให้เราสามารถเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับ ความผิดปกติทางจิต ได้เข้าใจง่ายขึ้นอีกด้วย
SOURCE : 1, สถาบันสุขภาพแห่งชาติ