7 วิธีแก้ปัญหาทางการเงินป่วยๆ สำหรับคนที่เก็บเงินไม่อยู่!!

เปิดปีใหม่กดเข้าไปดูยอดคงเหลือทีไร เป็นอันต้องเงิบไปทุกที นี่ขนาดยังไม่ถึงกลางเดือน ตัวเลขยังวิ่งลงอย่างต่อเนื่องแบบไม่หยุด ก็เวลาเงินเข้าทีไร ยังไม่ทันได้เก็บ ต้องชำระร้างสางหนี้ที่ยาวเป็นหางว่าว ยิ่งเดือนไหน ช็อปเพลินไปหน่อย ทำได้แค่เพียงจ่ายขั้นต่ำ ภัยทางการเงินที่ทำให้เราเดือนทางสู่ความเป็นหนี้ขึ้นมาเรื่อยๆ เอาล่ะ New Year’s Resolution ปีนี้ ขอตั้งใจเก็บเงินให้ได้สักก้อน สร้างวินัยทางการเงินให้หายป่วยกันดีกว่า ว่าแต่มีวิธีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลย!

1.ทำรายรับรายจ่าย

money 01

การทำรายรับรายจ่ายดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ ที่ไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าไหร่ แต่ถ้าเพื่อนๆ ได้ลองทำแล้ว จะเห็นได้ชัดว่า เราเสียเงินฟุ่มเฟือยไปกับเรื่องอะไรได้ พอทำไปเรื่อยๆ เราจะเริ่มจัดการใช้เงินได้ดีมากยิ่งขึ้น ยิ่งตอนนี้มีหลากหลาย App รายรับรายจ่ายให้เราได้ลองโหลดใช้กันฟรีๆยิ่งทำให้การทำรายรับรายจ่ายยิ่งง่ายขึ้นไปอีก

2.เก็บเงินตามปฏิทินเก็บเงิน “365 day saving money challenge”

money 02

เป็นวิธีที่ชาวเน็ตแชร์กันว่อนว่าวิธีนี้ปลายปีแล้วเก็บเงินได้เกือบแสน แต่ก็มีอีกฝ่ายมาแย้งว่า พอเข้าเดือนสุดท้าย ต้องเก็บเดือนละเป็นหมื่นเลย หนักเกินไป แต่มันมีวิธีประยุกต์เพื่อให้ง่ายกับไลฟ์สไตล์มากขึ้น เช่น ลองเก็บไม่ต้องเรียงตามวัน วันไหนมีเงินเหลือเยอะ เลือก หลัก 300 –  200 หรือเก็บเกินไปเลย แล้วหักลบของวันอื่น หรือ วันที่ต้องเก็บ 300 ลองหารกับวันที่ต้องเก็บหลักสิบ เมื่อบวกลบแล้ว ก็เก็บอย่างมากก็วันละประมาณ 100 ขึ้นไป วิธีนี้เป็นการฝึกวินัยการเก็บเงินไปในตัว ใครอยาก Challenge ตัวเองดู เราว่าไม่เลวเลยล่ะ!

ปล. ตามไปดูตารางได้ที่ Pantip : วิธีเก็บเงินเกือบ 7 หมื่น ภายใน 1 ปี แบบไม่หักโหม ได้เลยค่ะ

3.เก็บแบงค์ 50

money 03

เป็นวิธีสุดคลาสสิคที่ได้ลองกับตัวเองแล้วเห็นผลชัดจริงๆ เจอแบงค์ 50 แล้วเก็บเอามาหยอดกระปุกที่บ้าน พอมาปลายปีเอามานับ ได้เยอะกว่าทีคิดไว้ ทำให้มีแรงบันดาลใจในการเก็บเงิน ใครที่คิดว่าแบงค์ 50 เยอะไป ลองใช้ทริคเป็นแบงค์ใหม่ หรือ ตั้งกฎไว้ในใจแล้วจะรู้ว่า การมีเงินเก็บมันรู้สึกดีจริงๆ ตามข้างนี้เก็บทีได้รองเท้าคู่ใหม่เลยจ้า!

แบงค์ 50 บาทนี้มีความหมาย! ชวนออมเงินให้ได้สนีกเกอร์คู่โปรด ต้องเก็บกี่ใบถึงจะได้รุ่นฮิต

4.จำกัดวงเงินสำหรับการช็อปปิ้ง

money 04

ก็เราเป็นสาวบ้าช็อป ถ้าไม่ช็อปเลยทั้งเดือนทำไม่ได้จริงๆ ลองใช้วิธีจำกัดจำนวนเงินในการช็อปต่อเดือนดู ว่าเดือนนี้เราสามารถช็อปได้เยอะแค่ไหน เปิดบัญชีใหม่สำหรับการช็อปเลย แล้วพยายามอย่าเติมเงินในบัญชีนี้ วิธีนี้ฝึกวินัยการใช้เงินได้เป็นอย่างดี

5.ลบแอปช็อปปิ้งออนไลน์ งดใส่บัตรเครดิตลงในแอป

money 05

สมัยนี้บางคนก็เลิกไปห้างเดินช็อปแล้ว แต่เปลี่ยนเป็นช็อปปิ้งออนไลน์แทน ทำให้แต่ละเดือนมียอดโอนหรือยอดบัตรเครดิตพุ่งจนน่าตกใจ เราแนะนำว่า ถ้าเลี่ยงได้ก็อย่ากดเข้าไป เพราะบางทีแค่เห็นคำว่า Sale ก็กดจ่ายไปอย่างง่ายดาย ยิ่งผูกบัตรเครดิตไว้ด้วยเนี่ยยยย ยิ่งง่ายต่อการกดจ่าย ดังนั้นทำวิธีการจ่ายเงินให้ยากๆ เข้าไว้ ตอนกำลังใจจะได้มีสติกลับมานึกคิดว่า เรากำลังช็อปเกินตัวรึเปล่า

6.ฉลาดใช้บัตรเครดิตให้เกิดประโยชน์

money 06

บัตรเครดิตเหมือนดาบสองคม ถ้าใช้ผิดก็อาจจะทำให้ชีวิตวุ่นวาย แต่ถ้าใช้ให้เกิดประโยชน์ก็มีประโยชน์มากหลาย ลองศึกษาบัตรเครดิต เลือกบัตรที่เหมาะกับเรา และได้ประโยชน์สูงสุด บางบัตรมีโปรโมชั่นยิ่งช็อปยิ่งลดเยอะ มีสิทธิ์พิเศษในการแลก ลุ้น รับต่างๆ หรือ ในการผ่อน 0% และแลกไมล์บิน ซึ่งสามารถดูข้อมูลได้ที่ธนาคารที่สนใจ

7.ศึกษาด้านการเงิน เพื่อหาเงินเพิ่มอีกช่องทาง

money 07

ถ้าเป็นช็อปเก่งนัก ก็ต้องหาเงินเก่งด้วย ยิ่งในปัจจุบันนี้มีวิธีหาเงินแบบสุจริตมากมาย ทั้งขายของออนไลน์แบบง่ายๆ การซื้อกองทุน หรือ แม้แต่การเริ่มเล่นหุ้นออนไลน์ อยากให้เพื่อนๆ ลองหาแนวทางการหาเงินให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยวิธีที่ตัวเองถนัด โดยไม่รบกวนการทำงานหลัก นอกจากจะได้เงินมากขึ้นแล้ว ยังได้ความรู้มากขึ้นอีกด้วยค่ะ

ทั้งหมดนี้คือ 7 วิธีง่ายๆ สำหรับเพื่อนๆ ที่เริ่มอยากจัดการเงินของตัวเอง ใครอยากสร้างวินัยในปีใหม่นี้ลองค่อยๆ ทำตามกันดู รับรองว่าเพื่อนๆจะมีวินัยทางการเงินมากขึ้นแน่นอน!

Copyright©Jeab.com

ติดตาม Jeab.com
Jeab.com มี LINE แล้วนะ
ติดตามเรื่องราวไลฟ์สไตล์ทันสมัยสำหรับผู้หญิงยุคดิจิตอล ได้ทุกวันผ่าน LINE ID @jeabdotcom

Pinksmoke

Heart Of Darkness

No Comments Yet

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.