ช่วงวิกฤตเกิดไวรัสระบาด Covid-19 นอกจากจะป้องกันตัวเองด้วยการสวมใส่หน้ากาก การล้างมือให้สะอาด หมั่นออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงแล้วนั้น โภชนาการหรืออาหารการกินก็ถือว่าเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของเราเหมือนกัน ว่าแต่จะมีกลุ่มอาหารไหนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงได้บ้างนั้น ตามมาดูกันค่ะ
1.โปรตีน (Protein)
โปรตีน หรือที่รู้จักกันในฐานะหน่วยโครงสร้างพื้นฐานของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างแอนติบอดี้ที่จำเป็นต่อการป้องกันไวรัสและแบคทีเรียที่รุกล้ำเข้ามาในร่างกาย เพื่อให้แน่ใจว่าเราได้รับปริมาณโปรตีนอย่างเพียงพอ เราสามารถรับประทานอาหารที่มีโปรตีนชั้นดีให้มากขึ้นจากปลา สัตว์ปีก เนื้อไร้ไขมัน อาหารจำพวกถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ
2.วิตามินและสารพฤกษเคมี (Vitamins and phytonutrients)
วิตามินเอและซี รวมทั้งสารพฤกษเคมี ล้วนมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพภูมิคุ้มกันของเรา วิตามินซีซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุด ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตแอนติบอดี้ที่ต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บในแต่ละวันเราจึงต้องรับประทานวิตามินซีในปริมาณที่เหมาะสม เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างหรือเก็บสะสมวิตามินซีไว้ได้ ในขณะที่วิตามินเอก็ช่วยบำรุงสุขภาพผิว เนื้อเยื่อของระบบย่อยอาหาร และระบบทางเดินหายใจ
สารพฤกษเคมีที่พบในผักและผลไม้ ช่วยให้ร่างกายลดความเข้มข้นของอนุมูลอิสระที่เป็นตัวการทำให้ร่างกายอ่อนแอไม่สามารถต่อสู้กับความเจ็บป่วยได้ สารพฤกษเคมีหลายอย่างช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดและหัวใจ บรรเทาการอักเสบ ลดความดันเลือด และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโดยรวมได้เป็นอย่างดี
3.โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ (Probiotics and prebiotics)
ระบบย่อยอาหารทำหน้าที่หลักในการส่งเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกัน ระบบลำไส้คือเส้นทางสำคัญที่ต้องสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก อีกทั้งเป็นทางเดินที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ไมโครไบโอมที่ช่วยเรื่องย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย การมีแบคทีเรียลำไส้ที่ดีนับว่ามีคุณประโยชน์หลายประการ อาทิ ช่วยให้น้ำหนักลดลง ย่อยอาหารได้ดีขึ้น ผิวพรรณสดใส และที่สำคัญที่สุดคือช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่างานวิจัยในหัวข้อดังกล่าวจะยังไม่มีผลสรุปแน่ชัดหรือยอมรับกันโดยทั่วไปก็ตาม
หลายงานศึกษาวิจัยพบว่า โพรไบโอติกส์ ซึ่งเป็น “แบคทีเรียชนิดดี” มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร และพรีไบโอติกส์ ซึ่งเป็นประเภทเส้นใยอาหารที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้ ก็ถือเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์เหล่านี้ด้วย
4.กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3 fatty acids)
กรดไขมันโอเมก้า 3 ได้แก่ DHA และ EPA มีประโยชน์ต่อสุขภาพและเป็นไขมันสำคัญที่พบได้ในอาหารจำพวกเมล็ดเจียและอาหารเสริมต่าง ๆ เช่น น้ำมันปลา กรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดและภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะที่ต่อสู้กับการติดเชื้อ
แต่อย่างไรก็ดี โภชนาการไม่ใช่สิ่งที่นำมาใช้รักษาร่างกายแทนยาที่มีประสิทธิภาพได้ และไม่สามารถป้องกันเราจากการติดเชื้อโรค Covid-19 และโรคอื่น ๆ ด้วย แต่ว่าการรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงคือเรื่องง่าย ๆ ที่เราทุกคนควรทำเพื่อการมีสุขภาพดีท่ามกลางภาวะวิกฤตเช่นนี้
ข้อมูลและที่มาจาก : เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ประเทศไทย สามารถเยี่ยมชมที่เว็บไซต์ www.Herbalife.co.th