กระเป๋า Frayme ชองแบรนด์สเตลลา แมคคาร์ทนีย์ คือกระเป๋าใบแรกของโลกที่สร้างสรรค์จาก Mylo™️ อันเป็นผลงานชิ้นหนึ่งคีย์ลุคบนรันเวย์ โดยใช้ชื่อรุ่นว่า Frayme Mylo™️ เปิดตัวครั้งแรกในคอลเลคชั่น Summer 2022 collection เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ช่วงปารีสแฟชั่นวีค ซึ่งเป็นการบุกเบิกผลงานสร้างสรรค์อันหรูหราและยั่งยืน Mylo™️ เป็นนวัตกรรมโดยโบลต์ เธรดส์ (Bolt Threads) ผู้คิดค้นวัสดุหนังที่ทำจากพืชอันเป็นความยั่งยืนและปราศจากการทดลองกับสัตว์ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ทำจากไมซีเลียม (mycelium) หรือเส้นใยจากเห็ดที่มีรากอยู่ใต้ดินที่นำมาใช้ได้โดยไม่มีวันหมดไป
Mylo™️ มีความคล้ายคลึงกับหนังสัตว์เป็นอย่างยิ่ง แต่ได้รับการออกแบบมาเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยวัสดุประเภทนี้มีความนุ่ม จับต้องได้และผ่านการตรวจสอบว่าเป็นวัสดุจากสิ่งมีชีวิต นั่นหมายความว่าวัสดุชนิดนี้ทำจากส่วนประกอบที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่และมีอยู่ในธรรมชาติในปัจจุบัน เส้นใยไมซีเลียมสามารถเกิดขึ้นได้ใหม่และอุดมสมบูรณ์ตามแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เหล่านักวิทยาศาสตร์ของโบลต์ เธรดส์ ได้เรียนรู้สิ่งที่อยู่ใต้ผืนป่าอันเป็นที่ที่ไมซีเลียมเติบโตได้อย่างดีเยี่ยมและสร้าง Mylo™️ ขึ้นมาในห้องแล็บด้วยการใช้ใบไม้ที่เน่าเปื่อย อากาศ น้ำ และพลังงานหมุนเวียน 100% อันเป็นการเนรมิตวัสดุจากวิทยาศาสตร์ขึ้นมาใหม่โดยสิ้นเชิง
ขั้นตอนอันเป็นศาสตร์แห่งศิลป์นี้ถูกออกแบบมาเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน ไม่ต้องใช้เวลาเป็นปีเหมือนกับการเลี้ยงสัตว์ เราต้องใช้น้ำ 17,000 ลิตรเพื่อผลิตหนังหนึ่งกิโลกรัมในขณะที่เกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาสัตว์ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกไปทั่วโลกคิดเป็น 18% และเป็นตัวเร่งให้ระบบนิเวศที่สำคัญถูกทำลาย ส่วน 70%-80% ของผืนป่าอะเมซอน (Amazon) ที่ถูกทำลายในปัจจุบันกลายไปเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ วัสดุ Mylo™️ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำมันปิโตรเลียมซึ่งไม่เหมือนกับหนังสังเคราะห์ นั่นหมายความว่าพลังงานจากซากฟอสซิลยังคงอยู่ใต้พื้นดิน และพลาสติกถูกทิ้งลงบนพื้นดินที่เราอาศัยอยู่และลงในมหาสมุทรจะลดน้อยลง
กระเป๋ารุ่น Frayme Mylo™️ เป็นการสืบทอดอัตลักษณ์ในเรื่องการไม่ใช้สัตว์ในกระบวนการผลิตและความเป็นผู้นำของแบรนด์เสตลลา แม็คคาร์ทนีย์ ซึ่งได้สร้างสรรค์กระเป๋ารุ่น Falabella อันเป็น ‘It bag’ ระดับลักซ์ชัวรี่ชิ้นสำคัญออกมาในปี 2009 และจำหน่ายไปมากกว่า 1 ล้านใบนับตั้งแต่นั้น ทำให้ไม่เกิดการคร่าชีวิตวัวเกือบ 400,000 ตัว เกษตรกรรมที่อาศัยสัตว์เป็นตัวเร่งให้เกิดสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและการทำลายป่าไม้ อีกทั้งมีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซที่ทำลายเรือนกระจกของโลกประมาณ 18%